Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
นโยบายผู้บริหารท้องถิ่น
สถานะการคลัง/งบประมาณ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
แผนพัฒนาสามปี
แผนการจัดหาพัสดุประจำปี
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2563
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา

     ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเป็นต้นมา ได้ปรากฏหลักฐานโดยการเล่าต่อกันมาหลายยุคหลายสมัย ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในครั้งโน้น เพราะมีน้ำไหลตลอดเวลาทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน เรียกกันว่าลำน้ำซับซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลานานาชนิดและพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตามริมฝั่งลำน้ำมีต้นไม้ใหญ่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ สองฝั่งมีบรรยากาศรื่นรมย์เบิกบานทุกฤดูกาล ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ต้นน้ำซับเพื่อทำไร่ทำนาคือ พ่อธาตุ แม่ธาตุ บุคคลทั้งสองนี้เป็นผู้นำและต่อมามีคนทยอยมาเรื่อยๆ ตามลำดับคือ พ่อศรีสุธรรม พ่อพรหมบุตร พ่อใหญ่อัญญา กำนันหนวดโค้ง พ่อใหญ่ฝ้าย พ่อใหญ่ผิว พ่อกำนันสุริยะ มาอยู่ที่ต้นน้ำซับสืบต่อกันมาตามลำดับ มาจากบ้านน้ำอ้อมหนองผำ มาจากบ้านข่าโดม ต่อมานานเข้า ก็กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ขึ้นมีคนเล่าลือกันว่า สัญลักษณ์ของหมู่บ้านนี้ที่สำคัญที่สุดคือ ช้างบักกี๋เชือกหนึ่ง เป็นช้างพลายที่มีลักษณะดี ได้อาศัยอยู่ลำน้ำซับแห่งนี้กินใบไหล่เป็นอาหาร ชาวบ้านมีความยำเกรง เพราะถือกันว่าเป็นช้างคู่บ้านคู่เมืองนำความร่มเย็นมาให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก จากนั้นเป็นเวลาหลายปีช้างเชือกดังกล่าวก็เกิดเจ็บป่วยและตายจากไปในที่สุด พร้อมกันนี้ต้นไหล่ที่เคยอุดมสมบูรณ์เป็นอาหารของช้างก็เกิดเป็นขีขึ้นและก็ตายไปทีละเล็กทีละน้อย ตามหลักฐานยังกล่าวไว้ว่า กลุ่มคนซึ่งอาศัยอยู่บริเวณแห่งนี้ ได้ใช้สถานที่ทางทิศตะวันออกของลำน้ำซับสร้างวัดขึ้นแต่ไม่ปรากฏชื่อเป็นหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นพระอยู่รักษาวัดมาก่อน จนเวลาล่วงมานาน ชาวบ้านจึงได้สร้างวัดอย่างถูกต้องตามแบบทางการเป็นวัดไร่ขี เมื่อ พ.ศ.2390 โดยมียาท่านปาเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก เมื่อคนรุ่นหลังได้ทราบประวัติจากคนรุ่นก่อนเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับความเป็นมาของหมู่บ้านก็เศร้าสลดใจ ครั้นต่อมาชาวบ้านจึงได้ปรึกษาหารือกันทั้งทางวัดและชาวบ้านว่าควรจะตั้งชื่อบ้านและวัดเสียใหม่ จาก “ไหล่ขี” มาเป็น “ไร่ขี” เพื่อความเป็นศิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของหมู่บ้านและชื่อนี้ก็ปรากฏสืบมาจนถึงปัจจุบันโดยใช้ชื่อตำบลไร่ขี
     ปัจจุบันตำบลไร่ขี เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลไร่ขี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขี เมื่อปี พ.ศ.2540

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขี
หมู่ที่ 4 ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ รหัสไปรษณีย์ 37000
โทรศัพท์ / โทรสาร : 0-4554-6223  E-mail : admin@raikee.go.th

www.raikee.go.th